W  E  C  O  M  E        T  O        M  Y          B  L  O  G                                      KITTISAK        PRAYONGSAP                                             

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ภาษาไทย



ทุกข์ของชาวนาในบทกวี 
เมื่อครั้งเป็นนิสิต ข้าพเจ้าได้เคยอ่านผลงานของจิตร ภูมิศักดิ์ อยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้ศึกษาอย่างละเอียด หรือวิเคราะห์อะไร เพียงแต่ได้ยินคำเล่าลือว่าเขาเป็นคนที่ค้นคว้าวิชาการได้กว้างขวางและลึกซึ่งถี่ถ้วน ในสมัยที่เราเรียนหนังสือกัน ได้มีผู้นำบทกวีของจิตรมาใส่ทำนองร้องกัน ฟังติดหูมาจนถึงทุกวัน
เปิบข้าวทุกคราวคำ                   จงสูจำเป็นอาจิณ
 เหงื่อกูที่สูกิน                                จึ้งก่อเกิดมาเป็นคน
 ข้าวนี้น่ะมีรส                                 ให้ชมชิมทุกชั้นชน
 เบื้องหลังสิทุกข์ทน                         และขมขืนจรเขียวคาว
จากแรงมาเป็นรวง                            ระยะทางนั้นเหยียดยาว
จากรวงเป็นเม็ดพราว                        ล้วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
เหงื่อหยดสักกี่หยาด                        ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
ปูดโปนกี่เส้นเอ็น                            จึงแปรรวงมาเปิบกิน
น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง                            และน้ำแรงอันหลังริน
สายเลือดกูทั้งสิ้น                           ที่สูซดกำซาบฟัน
         ดูจากสรระนามที่ใช้ว่า กู” ในบทกวีนี้ แสดงว่าผู้ที่พูดคือชาวนา ชวนให้คิด
ว่าเรื่องจริงๆนั้นชาวนาจะมีโอกาสไหมที่จำ 
ลำเลิก” กับใครๆ ว่าถ้าไม่มีคนคอยเหนื่อยยากตรากตรำอย่างพวกเขา คนอื่นๆจะเอาอะไรกิน อย่าว่าแต่การลำเลิกทวงบุญคุณเลย ความช่วยเหลือของคนในสังคมต่อคนกลุ่มนี้ในด้านของปัจจัยการผลิต การพยุงหรือประกันราคา และการรักษาความยุติธรรมทั้งปวงก็ยังแทบเป็นไปไม่ได้ ทำให้ในหลายๆด้าน ประเทศที่มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ชาวนาต่างก็ละทิ้งอาชีพเกษตรกรรมไปอยู่ในภาคอุตสาหกรรมหรือ ภาคบริการ ซึ่งทำให้ตนมีรายได้สูงกว่า หรือได้เงินเร็วกว่า แน่นอนกว่า มีสวัสดิการดีกว่าและไม่ต้องสี่ยงมากต่อการเป็นชาวนา บางคนที่ยังคงอยู่ในภาคเกษตรกรรมก็นิยมเปลี่ยนพืชที่ปลูกจากธัญพืชซึ่งมักจะได้ราคาต่ำซึ่งรัฐบาลก็มีความจำเป็นต้องควบคุมราคาเป็นพืชเศรษฐกิจประเภทอื่นที่มาราคาสูงกว่า แต่ก็ยังมีชาวนาอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่มีทางขยับขยายตัวให้อยู่ในสถานะที่ดีขึ้นได้อาจแย่ลงด้วยซ้ำ แล้วก็ไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ฎีกากับใครถึงจะมีคนแบบจิตรที่พยายามใช้จินตนาการสะท้อนความในใจออกมาสะกิดใจคนอื่นบ้าง แต่ปัญหาก็ยังไม่หมดไป         
 หลายปีมาแล้วข้าพเจ้าอ่านพบบทกวีจีนบทหนึ่ง ผู้แต่งชื่อ หลี่เชิน ชาวเมืองอู่ซี่
มีชีวิตอยู่ในระหว่างปีค.ศ.๗๗๒ ถึง ๘๔๖ สมัยราชวงศ์ถัง ท่านหลี่เชินได้บรรยายความในใจไว้เป็นบทกวีภาษาจีน ข้าพเจ้าพยายามแปลด้วยภาษาที่ขรุขระไม่เป็นวรรณศิลป์เหมือนของจิตร ภูมิศักดิ์
           หว่านข้าวในฤดูใบไม้ผลิ ข้าวเมล็ดหนึ่ง
     จะกลายเป็นหมื่นเมล็ดในฤดูใบไม้ร่วง
     รอบข้างไม่มีนาที่ไหนทิ้งว่าง
     แต่ชาวนาก็ยังอดตาย
      ตอนอาทิตย์เที่ยงวันชาวนายังพรวนดิน
      เหงื่อหยดบนดินภายใต้ต้นข้าว
      ใครจะรู้ว่าในจานใบนั้น
      ข้าวแต่ละเม็ดคือความยากแค้นแสนสาหัส
        

 กวีผู้นี้รับราชการมีตำแน่งเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นอยู่ในชนบท ฉะนั้นเป็นไปได้ที่เขาจะเห็นความเป็นอยู่ของ ราษฎรชาวไร่ชาวนาในยุคนั้น และเกิดความสะเทือนใจจึงได้บรรยายความรู้สึกออกเป็นบทกวีที่เขาให้ชื่อว่า ประเพณีดั้งเดิม” บทกวีของ หลี่เชิน เรียบๆ ง่าย ๆ แต่ก็แสดงความขัดแย้งชัดเจน แม้ว่าในฤดูกาลนั้นภูมิอากาศจะอำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์แต่ผลผลิตก็ไม่ได้ตกเป็นประโยชน์ของผู้ผลิตเท่าที่ควร
          เทคนิคในการเขียนของหลี่เชินกับจิตรต่างกัน คือ หลี่เชินบรรยายภาพให้เห็นเหมือนจิตรกร วาดภาพให้คนชม ส่วนจิตรใช้วิธีเหมือนชาวนามาบรรยายเรื่องของตนให้ผู้อ่านได้ฟังด้วยตนเอง
เวลานี้สภาพบ้านเมืองก็เปลี่ยนไป ตั้งแต่สมัยหลี่เชินเมื่อพันปีกว่า สมัยจิตร ภูมิศักดิ์เมื่อสมัย ๓๐ ปีที่แล้ว สมัยที่ข้าพเจ้าได้เห็นเองก็ไม่มีอะไรแต่งตากกันนัก ฉะนั้นก่อนที่ทุกคนจะไปกินอาหารเม็ดเหมือนนักบินอวกาศ เรื่องความทุกข์ของชาวนาก็ยังเป็นแรงสร้างความสะเทือนใจให้แก่กวียุคคอมพิวเตอร์สืบไป